รุกขกรรม
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
หาเครื่องมือ คลิกที่นี่

ดินปลูกเสริมโครงสร้าง ต่อลมหายใจให้รากต้นไม้ในเมือง (มีคลิป)

1/2/2017

Comments

 
Picture
สวนสาธารณะซุคคอตติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ใช้ดินปลูกเสริมโครงสร้าง (Structural Soil) : Credit Image wikimedia
​ปัญหาหลักๆของต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกในเมือง นอกจาก ถูกบั่นยอด แบบที่เราเห็นกันชินตาตามข้างถนน ยังมีเรื่องระบบรากต้นไม้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรามองกันไม่ค่อยเห็นเสียด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็น ดินถูกกดทับจนอากาศและน้ำไม่ระบาย มีปริมาณดินน้อย ธาตุอาหารต่ำ

ดิน เกี่ยวอะไรกับต้นไม้

ดินก็คล้ายเป็นตลาดสดให้ต้นไม้ รากจะชอนไชเดินทางแทรกไปในดิน เพื่อหาวัตถุดิบส่งไปปรุงอาหารในโรงครัว (ใบไม้) รากที่เป็นแนวหน้าหาอาหารและน้ำไม่ใช่รากขนาดใหญ่ที่เราเห็นกัน แต่เป็น รากขนาดเล็กๆเรียกว่า รากฝอยและรากขนอ่อน อยู่กันหนาแน่นที่ผิวดิน แถมระหว่างทำงานเก็บวัตถุดิบส่งไปทำอาหารก็หายใจไปด้วย ดังนั้น ต้นไม้จะมีอาหารดีๆกินก็ต่อเมื่อ ดินมีช่องว่างอากาศและธาตุอาหารเพียงพอ
Picture
ภาพรากต้นไม้ : Credit Image freecoloringpages
Picture
ภาพรากต้นไม้ : Credit Image eschooltoday

ดิน ในเมือง

ลองมองไปที่ต้นไม้ใหญ่ใกล้ตัวหรือริมถนน แล้วนึกถึงรากขนอ่อนขนาดเล็กมากๆที่พยายามหาอาหารและหายใจ มาจินตนาการต่อกันว่ารากจิ๋วๆพวกนี้กำลังเจอกับอะไรบ้าง ซึ่งน่าจะเห็น ดินแน่นๆที่มีช่องว่างให้น้ำและอากาศน้อย บวกกับคอนกรีตเททับเหนือราก บ้างก็เทจนชิดโคนต้น บ้างก็เหลือโคนไว้นิดหน่อย ดีไม่ดีมีรถจอดทับอยู่ แล้วพวกรากฝอยจะทำงานไหวมั้ยนี่ อากาศก็น้อย ดินก็แน่น

​        ส่วนมากเราจะทำพื้นใต้ต้นไม้ (
บางทีบดอัดดินให้แน่นตามสเปคงานวิศวกรรมด้วย) เมื่อมีคนเดินไปมา มีรถจอด ตั้งร้านค้า ฯลฯ เพราะมันคงจะลำบากเลอะเทอะถ้าต้องเดินบนดิน ยิ่งฝนเทเมื่อไหร่ ย่ำโคลนเปรอะเปื้อนดินกระจายไปทั่ว 

​ดินปลูกเสริมโครงสร้าง (Structural Soil)

ในประเทศที่งาน รุกขกรรม เจริญไปมากอย่างสหรัฐอเมริกา เราจะได้เห็นงานวิจัยหรือเทคนิคเรื่องการดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมืองอยู่เรื่อยๆ ​
        ดินปลูกเสริมโครงสร้าง (Structural Soil) เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์แนล ดินโดยรอบหลุมปลูกจะนำหินสำหรับผสมคอนกรีต ขนาด 3/4 นิ้ว ถึง 1 1/2 นิ้ว ผสมกับดินดี ถมและบดอัดให้ได้ตามสเปค คราวนี้ระหว่างหินจะยังเหลือช่องว่างให้ดิน น้ำและอากาศ รากจะชอนไชไปตามช่องว่างระหว่างหินได้ ต้นไม้งอกงาม คนก็ใช้พื้นที่ใต้ต้นไม้ได้
Picture
ภาพวาด ดินปลูกเสริมโครงสร้าง : Credit Image  ​Cornell University
ดินปลูกเสริมโครงสร้าง สามารถรับน้ำหนักได้แต่ก็ยังมีช่องว่างสำหรับอากาศและน้ำให้รากใต้ดินมีลมหายใจต่อไปสะดวก ​ใครสนใจอยากศึกษาทดลองปรับใช้บ้าง ลองค้นหาเพิ่มเติมในรายละเอียดด้วยคำว่า "Structural Soil"  ใช้แล้วเป็นอย่างไร เล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ติดตามบทความโดยการเพิ่มเราเป็นเพื่อนในไลน์ Line id @th-arbor (มี@) มีบทความใหม่เมื่อไหร่เราจะส่งไปทางไลน์ค่ะ
เพิ่มเพื่อน

คลิปวีดีโอ การสำรวจระบบรากที่โตใน ดินปลูกเสริมโครงสร้าง เป็นเวลา 7 ปี : ที่มา
Comments
Powered by Create your own unique website with customizable templates.