บริการของเรา
ล้อมย้ายต้นไม้
จัดการต้นไม้ในโครงการก่อสร้าง
ตัดแต่งกิ่งไม้
ลดความสูงและความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
ตัดโค่น
ตัดต้นไม้ในที่เข้าถึงยาก
จัดการต้นไม้ในโครงการก่อสร้าง
ตัดแต่งกิ่งไม้
ลดความสูงและความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
ตัดโค่น
ตัดต้นไม้ในที่เข้าถึงยาก
เกี่ยวกับเรา
เมื่อสิ่งปลูกสร้างกำลังเข้ามาเยือน ลูกค้าจึงเริ่มเป็นกังวล ว่าต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างจะอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัยได้อย่างไร เราจึงต้องวางระบบในเรื่องของขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้สิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหายจากการเติบโตของต้นไม้ในอนาคต และเพื่อไม่ให้ต้นไม้ได้รับความเสียหายจากกระบวนการก่อสร้างเช่นกัน
ติดต่อ
info@mortonmai.com
ไลน์
เรื่องราวการทำงานของเรา

ทุกครั้งที่ต้องไปเป็นวิทยากรจำเป็น ในการบรรยายเรื่องของการตัดแต่งต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักการ ไม่มีครั้งไหนที่ผมจะไม่เอ่ยถึง เรื่องของตำแหน่งในการตัดกิ่ง หรือที่เรามักคุ้นหูกันว่า "ตัดชิดคอกิ่ง"
โพสต์นี้ หมอน้อยเลยขอนำภาพผลลัพธ์ของการตัดแต่งกิ่ง ต้นประดู่บ้าน(Pterocarpus indicus) บริเวณคอกิ่งมาให้พิจารณากันครับ (ทั้ง 3 ภาพ มีการตัดแต่งกิ่ง ณ วันและเวลาเดียวกัน เมื่อ 2 ปีก่อน)
>> ภาพแรก เป็นภาพของเปลือกไม้ที่กำลังหุ้ม(รักษา)แผล บริเวณรอบรอยตัด จากการตัดชิดคอกิ่งอย่างถูกต้อง สังเกตได้ว่า อีกไม่นานเราก็จะไม่เห็นแผลนี้อีกแล้ว
>> ภาพที่สอง เป็นภาพการตัดชิดคอกิ่งที่ลึกจนเกินไปนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก สังเกตได้ว่าแผลที่เกิดจากการตัด มีการหุ้มที่ไม่พร้อมกัน และกว่าแผลนี้จะหุ้มได้หมดก็ต้องใช้เวลานานกว่าภาพแรก (ต้นประดู่ต้นอื่นหรือต้นไม้บางชนิดที่ไม่ใช่ประดู่ อาจจะไม่สามารถหุ้มแผลตัวเองได้เลย)
>> ภาพสุดท้าย เกิดจากการตัดที่ไม่ได้ชิดคอกิ่ง คือมีการตัดเหลือเป็นตอไว้เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากเปลือกจะหุ้มแผลช้าหรือไม่หุ้มแล้ว (ต้นประดู่ต้นอื่นหรือต้นไม้บางชนิดที่ไม่ใช่ประดู่ ก็อาจเกิดการตายกลับของบาดแผลได้) ก็จะมีกิ่งเล็กกิ่งน้อยที่แตกยอดอ่อนออกมา รอบรอยแผลที่ตัด จึงส่งผลให้ลำต้นเป็นแผล/เป็นรอยที่ไม่สวยงาม และอาจเกิดโพรงตามมาในอนาคตอันใกล้
ป.ล. เรายังไม่ได้พูดถึง เรื่องการฉีกขาดของแผล ที่เกิดจากการตัดผิดวิธีกันเลย การเกิดแผลจะรุนแรงอย่างมาก ซึ่งเราจะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในโพสต์ต่อไป
โพสต์นี้ หมอน้อยเลยขอนำภาพผลลัพธ์ของการตัดแต่งกิ่ง ต้นประดู่บ้าน(Pterocarpus indicus) บริเวณคอกิ่งมาให้พิจารณากันครับ (ทั้ง 3 ภาพ มีการตัดแต่งกิ่ง ณ วันและเวลาเดียวกัน เมื่อ 2 ปีก่อน)
>> ภาพแรก เป็นภาพของเปลือกไม้ที่กำลังหุ้ม(รักษา)แผล บริเวณรอบรอยตัด จากการตัดชิดคอกิ่งอย่างถูกต้อง สังเกตได้ว่า อีกไม่นานเราก็จะไม่เห็นแผลนี้อีกแล้ว
>> ภาพที่สอง เป็นภาพการตัดชิดคอกิ่งที่ลึกจนเกินไปนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก สังเกตได้ว่าแผลที่เกิดจากการตัด มีการหุ้มที่ไม่พร้อมกัน และกว่าแผลนี้จะหุ้มได้หมดก็ต้องใช้เวลานานกว่าภาพแรก (ต้นประดู่ต้นอื่นหรือต้นไม้บางชนิดที่ไม่ใช่ประดู่ อาจจะไม่สามารถหุ้มแผลตัวเองได้เลย)
>> ภาพสุดท้าย เกิดจากการตัดที่ไม่ได้ชิดคอกิ่ง คือมีการตัดเหลือเป็นตอไว้เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากเปลือกจะหุ้มแผลช้าหรือไม่หุ้มแล้ว (ต้นประดู่ต้นอื่นหรือต้นไม้บางชนิดที่ไม่ใช่ประดู่ ก็อาจเกิดการตายกลับของบาดแผลได้) ก็จะมีกิ่งเล็กกิ่งน้อยที่แตกยอดอ่อนออกมา รอบรอยแผลที่ตัด จึงส่งผลให้ลำต้นเป็นแผล/เป็นรอยที่ไม่สวยงาม และอาจเกิดโพรงตามมาในอนาคตอันใกล้
ป.ล. เรายังไม่ได้พูดถึง เรื่องการฉีกขาดของแผล ที่เกิดจากการตัดผิดวิธีกันเลย การเกิดแผลจะรุนแรงอย่างมาก ซึ่งเราจะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในโพสต์ต่อไป

งานตัดโค่นต้นตาลยักษ์ ที่มีความโตกว่าหนึ่งคนโอบและสูงเกือบยี่สิบเมตร โดยใช้เครื่องจักรใหญ่ในการปฏิบัติงานร่วม เป็นงานที่เสี่ยงและยากระดับนึงเลยทีเดียว ความยากเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากการเติบโตของต้นตาลที่อยู่ใกล้ตัวอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆแค่เมตรเศษ มีสายไฟฟ้าแรงสูง-แรงต่ำ สายเคเบิ้ลต่างๆนานาล้อมรอบต้นไม้ ส่งผลให้เรามีพื้นที่ในการปฏิบัติงานนี้แคบมากๆ อีกทั้งยังมีแสงแดดที่แผดเผา มีควันจากรถเครน/เลื่อยยนต์ตลอดทั้งวัน และยังมีรถที่แล่นผ่านไปมาทุกๆนาทีอย่างไม่ขาดสาย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การปฏิบัติภาระกิจที่แข่งขันกับเวลา เพื่อให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งช้าเท่าไหร่นั่นหมายความว่า ต้นทุนในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้จะมากตามนั่นเอง สุดท้ายงานของพวกเราก็สำเร็จลงด้วยดี และปลอดภัย

ภาพเปรียบเทียบ "ก่อน-หลัง" การตัดแต่ง เป็นการแก้ปัญหาต้นหูกระจง(Terminalia ivorensis Chev.) สองต้นที่ยืนตระหง่านหน้าออฟฟิศ
แก้ปัญหาด้านใดบ้าง ??
>> ปัญหาด้านความสูง ที่เติบโตสูงกว่าอาคารสองชั้น จึงส่งผลให้บริเวณยอดของต้นไม้เป็นจุดรับ/ปะทะช่องลมเต็มๆ จึงเสี่ยงต่อการฉีกหัก/โค่นล้ม
>> ปัญหาด้านความแน่นทึบ การเติบโตของกิ่งและใบไม่สมดุล/บาลานซ์กัน ฟอร์มของต้นไม้เอียง เมื่อฝนตกใบอุ้มน้ำฝนจนหนักทั่วทั้งต้น จึงเสี่ยงต่อการฉีกหัก/โค่นล้ม
>> พื้นที่บริเวณโคนต้นมีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นช่องคอนกรีตขนาดเล็ก จึงส่งผลให้ระบบรากเติบโตโดยมีการ ขดม้วนไปมาอยู่บนพื้น ไม่สามารถเติบโตลงดินได้อย่างอิสระ ประสิทธิภาพในการค้ำพยุงลำต้นก็ลดน้อยลง จึงมีความจำเป็นต้อง ตัดแต่ง !! แต่ ต้นไม้ยังเขียวเหมือนเดิม ยังร่มเงาเหมือนเดิม และยังงดงามไม่ต่างจากเดิม แต่ที่ต่างกันคือ "ความปลอดภัย" ป.ล. หลังการตัดแต่งเพียงแค่สัปดาห์เดียว ต้นไม้มีการแตกยอดใหม่ออกมาให้เห็นแล้ว แนะนำตัดแต่งปีละหนึ่งครั้ง
แก้ปัญหาด้านใดบ้าง ??
>> ปัญหาด้านความสูง ที่เติบโตสูงกว่าอาคารสองชั้น จึงส่งผลให้บริเวณยอดของต้นไม้เป็นจุดรับ/ปะทะช่องลมเต็มๆ จึงเสี่ยงต่อการฉีกหัก/โค่นล้ม
>> ปัญหาด้านความแน่นทึบ การเติบโตของกิ่งและใบไม่สมดุล/บาลานซ์กัน ฟอร์มของต้นไม้เอียง เมื่อฝนตกใบอุ้มน้ำฝนจนหนักทั่วทั้งต้น จึงเสี่ยงต่อการฉีกหัก/โค่นล้ม
>> พื้นที่บริเวณโคนต้นมีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นช่องคอนกรีตขนาดเล็ก จึงส่งผลให้ระบบรากเติบโตโดยมีการ ขดม้วนไปมาอยู่บนพื้น ไม่สามารถเติบโตลงดินได้อย่างอิสระ ประสิทธิภาพในการค้ำพยุงลำต้นก็ลดน้อยลง จึงมีความจำเป็นต้อง ตัดแต่ง !! แต่ ต้นไม้ยังเขียวเหมือนเดิม ยังร่มเงาเหมือนเดิม และยังงดงามไม่ต่างจากเดิม แต่ที่ต่างกันคือ "ความปลอดภัย" ป.ล. หลังการตัดแต่งเพียงแค่สัปดาห์เดียว ต้นไม้มีการแตกยอดใหม่ออกมาให้เห็นแล้ว แนะนำตัดแต่งปีละหนึ่งครั้ง

ลูกค้าท่านนี้.. รู้จักผม จากคำบอกต่อของเพื่อนๆ ซึ่งเป็นลูกค้าเก่าของผมอีกทีหนึ่ง
ได้.. โทรหาผมเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินราคาหน้างาน ถึง 3-4 รอบ กินเวลาประมาณ 10 วัน ผมจึงสามารถหาเวลาว่างเข้าไปดูต้นไม้ได้ หลังจากนั้น ก็โทรหา/ไลน์ถาม เพื่อขอราคาผมอีก 4 ครั้ง กินเวลาอีกประมาณ 5-6 วัน กว่าผมจะส่งราคาไปให้ สุดท้ายก็นัดหมายกันทำงาน โดยรอคิวงานอีกกว่าประมาณ 10 วัน ถึงจะเข้าดำเนินงานได้
ด้วยจำนวนต้นไม้รอบบ้านเกือบ 20 ต้น ใช้ระยะเวลาทำงาน 4 วัน ด้วยทีมงาน 3-7 คน สุดท้ายต้นไม้ในบ้านหลังนี้ ก็ปลอดภัย สวยงาม และร่มรื่นอีกด้วย เพราะรู้สึกปลื้มใจ ในความอดทนของลูกค้าที่รอเราได้นานขนาดนี้
ได้.. โทรหาผมเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินราคาหน้างาน ถึง 3-4 รอบ กินเวลาประมาณ 10 วัน ผมจึงสามารถหาเวลาว่างเข้าไปดูต้นไม้ได้ หลังจากนั้น ก็โทรหา/ไลน์ถาม เพื่อขอราคาผมอีก 4 ครั้ง กินเวลาอีกประมาณ 5-6 วัน กว่าผมจะส่งราคาไปให้ สุดท้ายก็นัดหมายกันทำงาน โดยรอคิวงานอีกกว่าประมาณ 10 วัน ถึงจะเข้าดำเนินงานได้
ด้วยจำนวนต้นไม้รอบบ้านเกือบ 20 ต้น ใช้ระยะเวลาทำงาน 4 วัน ด้วยทีมงาน 3-7 คน สุดท้ายต้นไม้ในบ้านหลังนี้ ก็ปลอดภัย สวยงาม และร่มรื่นอีกด้วย เพราะรู้สึกปลื้มใจ ในความอดทนของลูกค้าที่รอเราได้นานขนาดนี้

หูกระจง สูงประมาณตึก 4 ชั้น ต้นเล็ก แต่สูง/ยาวชะลูด เพื่อหาแสงด้านบน จากการบดบัง จากตึกสูงทั้งสี่ด้าน วันนี้กลับถูกลมพายุพัดเอียง 45 องศาฯ เนื่องจากบริเวณนั้น เป็นช่องลมตึกพอดี มิหนำซ้ำ สภาพโคนรากก็ชื้นแฉะ เต็มไปด้วยน้ำ จากท่อระบายน้ำที่อุดตัน ทำให้ดินอ่อนตัว ทั้งยังเป็นแหล่งเชื้อโรค/รา และระบบรากที่จำกัด จากการปลูกลงในบ่อคอนกรีต เส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 1 เมตร ที่ไม่พังลงมาทับอาคารจนเสียหาย ผมได้ตัดลดความสูงของเรือนยอด ลงมา แล้วดึงต้นไม้ต้นนี้ให้กลับมาตั้งตรง อีกครั้ง แม้แทบจะไม่มีจุดให้รั้งดึงเลย ผมได้ทำค้ำยัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ให้ต้นไม้ไปอีกสักประมาณ 1 ปี โดยไม่ให้ต้นไม้มีเรือนยอดที่หนักจนเกินไป และจัดการระบบท่อนะบายน้ำ ไม่ให้น้ำท่วมบริเวณโคนต้น ครับ

2 กุมภาพันธ์ วันคล้ายวันสถาปนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์
ภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการตัดแต่งดูแลรักษา "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นไม้ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปลูกไว้ในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อให้เป็นแลนมาร์คที่สำคัญของคณะต่อไป
ภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการตัดแต่งดูแลรักษา "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นไม้ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปลูกไว้ในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อให้เป็นแลนมาร์คที่สำคัญของคณะต่อไป

พื้นที่บริเวณนี้ อีกไม่นานจะกลายเป็นที่พักอาศัยของ ลูกค้าผู้ซึ่งรักและชื่นชอบต้นไม้ โดยต้องการอยู่ร่วมกับต้นไม้เดิมในพื้นที่ เพราะความสงบ ร่มเย็น และสวยงาม แต่เมื่อสิ่งปลูกสร้างกำลังเข้ามาเยือน ลูกค้าจึงเริ่มเป็นกังวล ว่าต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างจะอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัยได้อย่างไร จึงได้ติดต่อขอรับคำปรึกษาจากหมอน้อย เพื่อดำเนินป้องกัน/รักษา (Tree Protection Zone) ให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับอาคารได้อย่างลงตัว
เนื่องจากบ้านสองชั้นที่ต้องลงเสาเข็มและคานดิน ใกล้กับต้นไม้ในระยะไม่เกิน 3 เมตร เราจึงต้องวางระบบในเรื่องของขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้บ้านได้รับความเสียหายจากการเติบโตของต้นไม้ในอนาคต และเพื่อไม่ให้ต้นไม้ได้รับความเสียหายจากกระบวนการก่อสร้าง
เนื่องจากบ้านสองชั้นที่ต้องลงเสาเข็มและคานดิน ใกล้กับต้นไม้ในระยะไม่เกิน 3 เมตร เราจึงต้องวางระบบในเรื่องของขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้บ้านได้รับความเสียหายจากการเติบโตของต้นไม้ในอนาคต และเพื่อไม่ให้ต้นไม้ได้รับความเสียหายจากกระบวนการก่อสร้าง

ช่วงนี้พายุฤดูฝนกำลังเข้ามาเยือน..
มีเหตุให้ต้นไม้ฉีกหัก/โค่นล้ม และก่อความเสียหายขึ้นมากมาย
เคสนี้ เจอมากับตัว !! .. ต้นมะฮอกกานีโค่นล้มลงมาทับรถผมเอง
ซึ่งปกติพื้นที่บริเวณนี้ จะมีรถของลูกบ้านมาจอดหลายคัน
หมอน้อย ปัจจัยคร่าวๆในการล้มของต้นไม้ครั้งนี้
1. พื้นที่ตรงนี้ เป็นคอนโดใหม่ที่เพิ่งนำต้นไม้ใหญ่มาปลูก ระบบรากแขนงผิวดินของต้นไม้เลยมีจำกัด (ทั้งในแง่ของขนาด จำนวน ความยาว ทิศทาง) ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการค้ำยันต้นมันเอง
>> ไม่เคยมีการสำรวจและประเมินสุขภาพของต้นไม้ อย่างจริงจัง
2. ต้นไม้ทุกต้นมีการค้ำยันแบบชั่วคราว(ไม้ยูคาฯ) ซึ่งสังเกตพบว่า ไม้ค้ำยันแต่ละต้นนั้นผุหมดแล้ว จึงไม่สามารถช่วยป้องกันต้นไม้ล้มได้ (แนะนำเปลี่ยนไม้คำประมาณปีละ 1 ครั้ง ระยะเวลาอาจบวกลบสองถึงสามเดือน ขึ้นอยู่กับนปัจจัยต่างๆ ณ พื้นที่นั้นๆ)
>> ยังไม่ดำเนินการเปลี่ยนไม้ค้ำยัน ทั้งที่ไม้ค้ำยันเก่าผุแล้ว
3. ขนาดเรือนยอดของต้นไม้ที่ไม่สอดคล้องกับความแข็งแรงของระบบราก การปล่อยให้ต้นไม้สูงและทึบมากจนเกินไป จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลมพายุพัดเข้ามาปะทะอย่างรุนแรง (ควรมีการตัดลดความสูงและแต่งฟอร์มของต้นไม้เป็นประจำ 1-2 ปี/ครั้ง)
>> ยังไม่มีการตัดแต่งต้นไม้ประจำปี หรือมีการตัดแบบผิดวิธี
4. ทุกครั้งที่ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ใบที่แน่นทึบจะเป็นตัวรับและอุ้มน้ำฝนไว้จนหนัก จนอาจทำให้กิ่งที่มาโครงสร้างไม่แข็งแรงหักลงมาอย่างง่ายดาย อีกทั้งดินที่ดูดซับน้ำอย่างเต็มที่ก็อ่อนตัวลง โครงสร้างความแข็งแรงของดินก็ลดน้อยลง จนง่ายต่อการโค่นล้มลงมา
>> ให้กลับไปดูข้อ 1-3
ฝากทุกท่านสำรวจและประเมินต้นไม้ใหญ่ของท่านอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ที่อยู่โดยรอบต้นไม้
มีเหตุให้ต้นไม้ฉีกหัก/โค่นล้ม และก่อความเสียหายขึ้นมากมาย
เคสนี้ เจอมากับตัว !! .. ต้นมะฮอกกานีโค่นล้มลงมาทับรถผมเอง
ซึ่งปกติพื้นที่บริเวณนี้ จะมีรถของลูกบ้านมาจอดหลายคัน
หมอน้อย ปัจจัยคร่าวๆในการล้มของต้นไม้ครั้งนี้
1. พื้นที่ตรงนี้ เป็นคอนโดใหม่ที่เพิ่งนำต้นไม้ใหญ่มาปลูก ระบบรากแขนงผิวดินของต้นไม้เลยมีจำกัด (ทั้งในแง่ของขนาด จำนวน ความยาว ทิศทาง) ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการค้ำยันต้นมันเอง
>> ไม่เคยมีการสำรวจและประเมินสุขภาพของต้นไม้ อย่างจริงจัง
2. ต้นไม้ทุกต้นมีการค้ำยันแบบชั่วคราว(ไม้ยูคาฯ) ซึ่งสังเกตพบว่า ไม้ค้ำยันแต่ละต้นนั้นผุหมดแล้ว จึงไม่สามารถช่วยป้องกันต้นไม้ล้มได้ (แนะนำเปลี่ยนไม้คำประมาณปีละ 1 ครั้ง ระยะเวลาอาจบวกลบสองถึงสามเดือน ขึ้นอยู่กับนปัจจัยต่างๆ ณ พื้นที่นั้นๆ)
>> ยังไม่ดำเนินการเปลี่ยนไม้ค้ำยัน ทั้งที่ไม้ค้ำยันเก่าผุแล้ว
3. ขนาดเรือนยอดของต้นไม้ที่ไม่สอดคล้องกับความแข็งแรงของระบบราก การปล่อยให้ต้นไม้สูงและทึบมากจนเกินไป จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลมพายุพัดเข้ามาปะทะอย่างรุนแรง (ควรมีการตัดลดความสูงและแต่งฟอร์มของต้นไม้เป็นประจำ 1-2 ปี/ครั้ง)
>> ยังไม่มีการตัดแต่งต้นไม้ประจำปี หรือมีการตัดแบบผิดวิธี
4. ทุกครั้งที่ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ใบที่แน่นทึบจะเป็นตัวรับและอุ้มน้ำฝนไว้จนหนัก จนอาจทำให้กิ่งที่มาโครงสร้างไม่แข็งแรงหักลงมาอย่างง่ายดาย อีกทั้งดินที่ดูดซับน้ำอย่างเต็มที่ก็อ่อนตัวลง โครงสร้างความแข็งแรงของดินก็ลดน้อยลง จนง่ายต่อการโค่นล้มลงมา
>> ให้กลับไปดูข้อ 1-3
ฝากทุกท่านสำรวจและประเมินต้นไม้ใหญ่ของท่านอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ที่อยู่โดยรอบต้นไม้

ต้นไม้เเต่ละต้น จะมีความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัวเเตกต่างกันออกไป ความสวยงามคนละอย่างชีพลักษณ์ของเขาก็จะโตคนละแบบ
จะมีสักกี่ที่ในพื้นที่ใจกลางเมือง ที่จะมีต้นไม้ใหญ่เเละเเข็งเเรง ดังนั้นการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในเมือง จึงมีความจำเป็นเเละสำคัญต่อการมีและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเลยก็ว่าได้.
ถ้าเปรียบต้นไม้กับคนเรานั้น ผมว่าก็คงไม่เเตกต่างกันสักเท่าไหร่ เพียงเเต่ว่าต้นไม้นั้นเขาไม่สามารถพูดหรืออธิบายได้ ว่าเขาต้องการอะไรและต้องการอย่างไร ก็เท่านั้นเองครับ
ดังนั้นรุกขกร หรือ "หมอต้นไม้" จึงได้เกิดขึ้น เพื่อดูเเลงานทางด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะต้นไม้เขาพูดไม่ได้-ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ป่วย
จะมีสักกี่ที่ในพื้นที่ใจกลางเมือง ที่จะมีต้นไม้ใหญ่เเละเเข็งเเรง ดังนั้นการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในเมือง จึงมีความจำเป็นเเละสำคัญต่อการมีและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองเลยก็ว่าได้.
ถ้าเปรียบต้นไม้กับคนเรานั้น ผมว่าก็คงไม่เเตกต่างกันสักเท่าไหร่ เพียงเเต่ว่าต้นไม้นั้นเขาไม่สามารถพูดหรืออธิบายได้ ว่าเขาต้องการอะไรและต้องการอย่างไร ก็เท่านั้นเองครับ
ดังนั้นรุกขกร หรือ "หมอต้นไม้" จึงได้เกิดขึ้น เพื่อดูเเลงานทางด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะต้นไม้เขาพูดไม่ได้-ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ป่วย

ตัดแต่งกิ่ง >> โดยการสางโปร่ง
เพื่อให้แสง ส่องถึงหญ้าใต้ต้นไม้
เพื่อให้ลม พัดพาความสุขมาให้คนที่นั่งพักผ่อน
เพื่อให้สัตว์มีพิษ ที่หลบซ่อนอยู่บนต้นไม้นั้นหายไป
เพื่อป้องกันอันตรายจากการฉีกหัก หักโค่น
เพื่อไม่ให้เป็นเป็นที่โจษจัน เหมือนต้นไม้ริมทางหลวง
เพื่อความสวยงาม เพื่อสุขภาพที่ดีของต้นไม้
เพื่อให้แสง ส่องถึงหญ้าใต้ต้นไม้
เพื่อให้ลม พัดพาความสุขมาให้คนที่นั่งพักผ่อน
เพื่อให้สัตว์มีพิษ ที่หลบซ่อนอยู่บนต้นไม้นั้นหายไป
เพื่อป้องกันอันตรายจากการฉีกหัก หักโค่น
เพื่อไม่ให้เป็นเป็นที่โจษจัน เหมือนต้นไม้ริมทางหลวง
เพื่อความสวยงาม เพื่อสุขภาพที่ดีของต้นไม้
แสกน QR ติดต่อเราทางไลน์
รับตัดต้นไม้ กทม รับตัดต้นไม้กรุงเทพ ปริมณฑล ตัดแต่งกิ่ง รุกขกร หมอต้นไม้ ตัดต้นไม้ตามหลักวิชาการ รุกขกรใบรับรอง สมาคมรุกขกรรมไทย ตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ยืนต้นตาย ต้นไม้ตาย รักษาต้นไม้ รักษาแผลต้นไม้ ต้นไม้เอียง รับดูแลต้นไม้ ต้นไม้เป็นแผล ตัดรากต้นไม้ ต้นไม้ล้ม รับฟื้นฟูต้นไม้ รักษาต้นไม้ป่วย ต้นไม้ป่วย