Image Source : www.fowler.ca
Softscape หรือ ภูมิทัศน์ดาดอ่อนประเภทพืชพรรณ ควรดูแลรักษาอย่างไรให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงาน ทั้งในเรื่องของเครื่องมือ อุปกรณ์ แรงงาน และระยะเวลา
คัดลอกจาก เอกสารประกอบการอบรม การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์โรงแรม จ.ภูเก็ต วันที่ 15-16 ธันวาคม 2560 โดย อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คลิกดูหัวข้ออื่นๆได้ที่นี่
สำหรับต้นไม้ในสวน มีหลายประเภท ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ไม้เลื้อย ไม้น้ำ วิธีการในการปฏิบัติดูแลอาจแตกต่างไปบ้าง แต่การดูแลเรื่องหลัก ๆ จะเหมือนกัน ประการสำคัญต้นไม้ทุกต้นทุกกลุ่มในสวนต้องการการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคงความงามสมบูรณ์ของรูปแบบสวน เพราะรูปลักษณ์ของต้นไม้ทุกต้นทุกกลุ่มล้วนมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อรูปแบบสวน รูปแบบสวนที่สวยงามจะเปลี่ยนไปทันทีถ้ารูปทรงของต้นไม้ในสวนเปลี่ยนไป ความยากง่ายในการดูแลรักษาต้นไม้ภายในสวนขึ้นอยู่กับการกำหนดกลุ่มต้นไม้ลงพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มการออกแบบ หากในตอนนั้นได้คำนึงไว้ล่วงหน้าเผื่อการดูแลรักษา
ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อสร้างและภูมิทัศน์ ได้ที่ ไลน์ @th-arbor หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
การกำจัดวัชพืช
หลังจากจัดสวนเสร็จไปแล้ว การป้องกันและกำจัดวัชพืชก็จัดเป็นงานหลักและจะต้องลงมือทันทีเมื่อพบเห็นทั้งในสนามหญ้าและในกลุ่มพืชพรรณอื่น ๆ ส่วนจะกำจัดด้วยวิธีใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
การกำจัดวัชพืชให้แก่ต้นไม้ในสวนนั้นจะกำหนดด้วยการสับแนวขอบของกลุ่มไม้ หรือโคนต้นไม้ ให้ห่างออกมา 5 – 6 นิ้ว ตามรูปร่างของกลุ่มหรือต้นไม้ จากนั้นจึงพรวนดินพร้อมกับขุดถอนวัชพืชออก การสับแนวกำหนดขอบเขตนี้จะสับให้ลึกลงไปจากผิวดินในสนามประมาณ 1 – 2 นิ้ว เพื่อยับยั้งไม่ให้หญ้าสนามรุกเลื้อยเข้าไปเร็วเกินสมควร วัชพืชที่สำคัญที่มักพบในส่วนและกำจัดยากมีไม่กี่ชนิด ซึ่งมักเป็นพวกที่แข็งแรง รากลึก ถ้าใช้มือถอนบางทีย่อมขาด ไม่ยอมขึ้น หมายถึงลำต้นขาดแต่รากเหง้ายังฝังอยู่ในดินซึ่งถ้ามีการวางแผนป้องกันและเตรียมดินที่ดีในตอนเริ่มต้นจัดสวน ปัญหาเรื่องนี้จะลดลงไปมาก วัชพืชที่ว่านี้ได้แก่ หญ้าต่าง ๆ เช่น หญ้าแห้วหมู หญ้าชันกาด หญ้าตีนกา หญ้าขน ส่วนหญ้าคาแม้จะปราบยากแต่ก็ไม่ค่อยพบ นอกจากนี้ยังมีวัชพืชพวกผักโขม หนามที่มีรากลึกมาก ถ้าปล่อยให้ต้นสูงสัก 1 ฟุต แล้วถอนไม่ขึ้นเลย ไมยราบ บานไม่รู้โรยป่า น้ำนมราชสีห์ พวกนี้โตเร็วและกำจัดยาก การป้องกันกำจัดวัชพืชที่ดีที่สุด คือ การให้เวลากับสวนด้วยการเดินตรวจดู เมื่อพบเห็นควรรีบกำจัดทันที เครื่องมือที่ต้องใช้ในการขุดถอน ได้แก่ เหล็กปากแบนแหลม หรือเสียมปากเล็ก การพรวนดินและใส่ปุ๋ย
โดยปกติจะปฏิบัติ 2 เดือนต่อครั้ง การพรวนจะพรวนเพียงตื้น ๆ 2 - 3 นิ้ว ก็พอและจะไม่พรวนจนร่วนละเอียดเกินไป ไม่คลุมดินที่มีรากตื้นก็ต้องพรวนด้วยความระมัดระวัง หลังจากพรวนก็จะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15 – 15 – 15 การใส่จะใส่เพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มโดด ๆ ให้ต้นละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ หากเป็นกลุ่มก็เพิ่มมากขึ้น โดยใส่ให้ทั่วถึงต้นภายในกลุ่มด้วยเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีแล้วก็ควรหว่านทับด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หากเป็นไม้คลุมดินอย่าให้เม็ดปุ๋ยหรือเศษปุ๋ยค้างอยู่ตามใบและซอกใบ
สำหรับเฟิร์นจะไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวก็พอ ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำตามทันที ใช้น้ำฉีดพ่นชะล้างเศษปุ๋ยที่ตกค้างตามส่วนต่าง ๆ ของพืชออกให้หมด การให้น้ำ
หากในช่วงที่ไม่ได้พรวนดิน ใส่ปุ๋ย การให้น้ำแก่ต้นไม้ในสวนจะให้พร้อมกับสนามหญ้า เนื่องจากต้นไม้มีระบบลากที่ลึกและแผ่กว้างกว่าหญ้าสนาม หากว่าให้น้ำตอนแดดจัด ควรรดตอนเช้าหรือตอนเย็น และควรรดให้ทั่วพุ่มใบด้วย เป็นการชะล้างฝุ่นและสิ่งสกปรกตามใบพืชไม่ปล่อยให้ต้นไม้แสดงอาการเหี่ยวเฉาออกมาแล้วจึงค่อยรดน้ำ จะทำให้ต้นไม้อ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย
ในหน้าแล้ง หากได้คลุมโคนต้นไม้ด้วยเศษวัสดุต่าง ๆ เช่น หญ้าแห้ง ฟาง ช่วยทำให้ต้นไม้ไม่ขาดน้ำ และประหยัดปริมาณน้ำที่ให้แก่ต้นไม้ด้วย
ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อสร้างและภูมิทัศน์ ได้ที่ ไลน์ @th-arbor หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
หากต้นไม้ได้รับการดูแลรักษาให้เจริญเติบโตดี มีความเข็มแข็งสมบูรณ์ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการป้องกันโรคและแมลง ช่วงเวลาที่ต้นไม้มักเกิดโรคระบาด แมลงทำลาย จะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล โดยเฉพาะจากฤดูฝนเข้าฤดูแล้ง หรือฤดูหนาว จึงควรระวังป้องกันแต่เนิ่น ๆ
สาเหตุของการเกิดโรคอีกประการหนึ่งคือ การขาดการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เช่น การให้น้ำกับพืชบางชนิดมากเกินไปก็จะเกิดโรคเน่า การไม่กำจัดวัชพืช หรือไม่เก็บกวาดเศษของพืชออกจากสวน ปล่อยให้เป็นที่สะสมของโรคและแมลง การป้องกันกำจัดนั้น หากพบเห็นแม้เพียงเล็กน้อยก็รีบทำลายเสีย ด้วยการตัดทิ้งในส่วนที่เป็นโรค แต่ถ้าระบาดมากก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีช่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบเพื่อการป้องกันโรคและแมลงที่จะเกิดกับพืชพรรณในสวน หลักการป้องกันกำจัด
การตัดแต่งพรรณไม้ในสวน
การตัดแต่งไม้คลุมดิน
ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกในสวนหย่อมพอจะแบ่งได้ 2 ชนิด คือ ไม้คลุมดินที่เน้นการใช้ดอก เช่น ผกากรอง ฟ้าประดิษฐ์ หลิวไต้หวัน กระดุมทองเลื้อย แพรเซี่ยงไฮ้ หรือคุณนายตื่นสาย บานเช้า เข็มพิษณุโลก การตัดแต่งไม้คลุมดินชนิดนี้จะตัดแต่งเพื่อควบคุมรูปทรงขนาดขอบเขตให้เหมาะสมสวยงาม และที่สำคัญ หลังดอกโรยต้องตัดแต่งทุกครั้ง เพื่อสร้างยอดใหม่และ สร้างดอกใหม่ ไม้คลุมดินอีกชนิดหนึ่งที่ไม่เน้นการใช้ดอกแต่ใช้ลักษณะสีสันของใบเป็นสำคัญ เช่น แอหนัง บุษบาฮาวาย ดาดตะกั่ว ร่มเชียงใหม่ หลิวใบ ผักเป็ด เกล็ดแก้ว การตัดแต่งไม้คลุมชนิดนี้เพื่อควบคุมรูปทรง ขนาด และขอบเขตให้สวยงาม ไม้คลุมดินทั้งสองชนิดที่กล่าวมาเป็นไม้คลุมดินที่ตัดแต่งได้ จึงควรตัดแต่งให้เป็นรูปมน ๆ จะดูนุ่มนวลกว่ารูปสี่เหลี่ยม มีไม้คลุมดินบางชนิดที่ตัดแต่งไม่ได้ เช่น เศรษฐีไซ่ง่อน กำแพงเงิน รางทาง ว่านสี่ทิศ การะเกดหนู เฟิร์น กาบหอยแครง ปริกหางกระรอก หากจะควบคุมบ้างก็ได้ แต่ถึงหรือตัดใบที่แห้งตายและกิ่งไม่สมบูรณ์ออก หรือสับแนวแยกต้นแยกกอไม่ให้รุกล้ำกลุ่มไม้อื่น
การตัดแต่งไม้พุ่ม
ไม้พุ่มจะถูกนำมาใช้จัดสวนมากไม้พุ่มบางชนิดก็ต้องตัดแต่งตามลักษณะเฉพาะของต้นไม้ เช่น ปรง สิบสองปันนา ตัดได้เฉพาะใบแห้งตาย หรือลิดใบเพื่อให้ลำต้นโปร่ง แต่ไม่สามารถตัดแต่งให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ ไม้พุ่มกอ ก็ตัดแต่งได้บางส่วน โดยการตัดใบหรือกาบใบ หรือช่อดอกที่โรยแล้วออก เพราะไม้พุ่มส่วนใหญ่มีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน เช่น ปักษาสวรรค์ พวกเฮลิโคเนีย ขิงแดง พลับพลึง พุทธรักษา ธรรมรักษา กลุ่มไม้พวกนี้จะดึงเอาลำต้น หรือกาบใบแก่ ๆ ออก ตัดก้านช่อดอกที่โรยทิ้ง เพื่อให้กอโปร่งจะลดการเกิดโรคและแมลง ทั้งที่เป็นการสร้างต้น สร้างดอกใหม่ตลอดปี ไม้พุ่มที่สามารถตัดแต่งควบคุมรูปทรงได้ ก็จะตัดเป็นรูปร่างต่าง ๆ หากจะแบ่งไม้พุ่มกลุ่มนี้ตามความสูงแล้ว จะแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ไม้พุ่มเตี้ย หรือตัดแต่งควบคุมให้เตี้ยได้ เช่น เทียนทอง บานบุรี แคระ เข็มญี่ปุ่น ไม้พุ่มกลาง เช่น นีออนแก้ว ประยงค์ ประทัดฟิลิปปินส์ โกสนหูปลาช่อน ชบา เข็มเศรษฐี ปัตตาเวีย ไม้พุ่มสูง เช่น โมก ยี่โถ หางนกยูงไทย เทียนหยดหรือช่อม่วง ไม้พุ่มทั้ง 3 ระดับนี้สามารถตัดแต่งควบคุมให้มีรูปทรงต่าง ๆ ได้ เช่น รูปทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงสามเหลี่ยม หรือรูปทรงประดิษฐ์อื่น ๆ ไม้พุ่มที่สามารถตัดแต่งและควบคุมรูปทรงได้นั้นจะมีกิ่งก้านที่แตกออกจากลำต้นชิดดินหรือไม่ลำต้นก็จะเป็นกอหลายต้นที่แตกออกจากโคนต้นเดียวกัน แต่กิ่งที่สมบูรณ์สร้างดอกสร้างใบที่สวยงามจะเป็นกิ่งใหม่ ส่วนกิ่งที่แก่นั้นใบจะห่างไม่ค่อยมีดอก ส่วนใหญ่กิ่งแก่จะมีสีเปลือกที่คล้ำหรือเข้ม เปลือกหนาแข็ง กิ่งแกร็น ก็ควรต้องคัดทิ้งไป การตัดแต่งกิ่งหรือลำต้น ต้องเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับการเจริญของกิ่งหรือต้นพืชซึ่งส่วนที่เจริญออกไปเป็นกิ่งหรือตัดใหม่นั้นล้วนเกิดจากตาของพืช ตาจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ ตายอดจะอยู่ปลายกิ่ง จะทำให้กิ่งหรือลำต้นเจริญยืดยาวออกไป เป็นจุดเด่นเห็นง่าย ส่วนตาอีกชนิดหนึ่งคือตาข้างจะอยู่ที่ข้างกิ่ง (ตรงข้อ) จะเจริญออกทางข้างสร้างเป็นทรงพุ่มตาทั้ง 2 ชนิดนี้จะสร้างกิ่งใหม่ และเจริญออกไปทุกปี ในการตัดแต่งนั้นหากตัดตายอดออกไปพืชจะแตกกิ่งข้างมากขึ้น แต่ถ้าตัดกิ่งข้างหรือตาข้างออก พืชจะสูงยาวมากขึ้น ไม้พุ่มบางชนิดก็พอจะกำหนดขนาดของทรงพุ่มได้บ้าง แต่ควบคุมความสูงไม่ได้ ซึ่งได้แก่ พวกปาล์มต่าง ๆ เช่น หมากเหลือง หมากแดง หมากเขียว จั๋ง หากมีการแตกกอมากก็แยกออกไปบ้าง สนประดับก็เป็นไม้พุ่มอีกประเภทหนึ่งที่ตัดแต่งควบคุมยาก อาจตัดแต่งกิ่งที่แห้งตายบ้างนอกนั้นก็ปล่อยให้โตตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่โตช้า จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องตัดแต่งมากนัก
ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อสร้างและภูมิทัศน์ ได้ที่ ไลน์ @th-arbor หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
การจัดการปัญหาเกี่ยวกับวัชพืชน้ำ
การเจริญเติบโตอย่างเหลือเฟือ (blooms) ของสาหร่ายและพืชน้ำชั้นสูงเช่น บัว ในแหล่งน้ำก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนานัปการ เช่น
|