รุกขกรรม
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
หาเครื่องมือ คลิกที่นี่

ขอบเขตของงานดูแลรักษาภูมิทัศน์ มีอะไรบ้าง?

1/14/2018

Comments

 
Picture
Image Source : studiooutside.us
การดูแลภูมิทัศน์หรือที่เรียกกันทั่วๆให้เข้าใจง่ายว่างานดูแลสวน มีรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง หน่วยงานของราชการหรือองค์กรขนาดใหญ่ใช้ ขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) เป็นรายละเอียดในการทําสัญญาจ้างเหมาดูแลและบํารุงรักษาภูมิทัศน์ เพื่อรักษาสภาพพื้นที่คงอยู่สวยงาม ปลอดภัย สะอาตเรียบร้อย อยู่เสมอ ส่วนในพื้นที่ขนาดเล็กลงมามักอาศัยความเอาใจใส่และความคุ้นชินของผู้รับผิดชอบแทน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจขาดตกในบางเรื่อง ซึ่งก่อปัญหากับสภาพพื้นที่โดยรวม

ขอบเขตงานดูแลรักษาภูมิทัศน์ ​( คัดลอกจาก เอกสารประกอบการอบรม การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์โรงแรม จ.ภูเก็ต วันที่ 15-16 ธันวาคม 2560 โดย อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย ​คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ) อาจเป็นแนวทางให้ผู้รับผิดชอบงานสถานที่ ใช้อ้างอิงเพื่อการปรับ TOR ของหน่วยงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหัวข้อ ต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์ หรือ ให้เจ้าของสถานที่นำมาใช้วางแผนการดูแลภูมิทัศน์ของตัวเองให้ครบถ้วน 
​​​ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อสร้างและภูมิทัศน์ ได้ที่  ไลน์ @th-arbor ​หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
เพิ่มเพื่อน

ลักษณะงานที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติในรอบ 1 ปีเพื่อให้งานคงสภาพดีดังเดิมงานดูแลบำรุงรักษาแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ​งานที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำและงานที่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว

​งานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ (routine practices) 

​เป็นงานที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอถ้าไม่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่องานทั้งหมด ซึ่งงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่
  1. การให้น้ำแก่สนามหญ้า การให้น้ำแก่ต้นไม้ที่ปลูกลงเดินในแปลงในกระบะปลูก ในกระถางปลูก ถ้าไม่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอพืชพรรณเหล่านั้นจะแสดงอาการขาดน้ำ เช่น เหี่ยวเฉา ใบร่วง ดอก และผลร่วง
  2. การเก็บกวาดใบไม้  ดอกไม้  ผลไม้  กิ่งที่ร่วงและฝุ่นละออง ออกจากพื้นที่ภูมิทัศน์ดาดแข็งหรือจากพื้นที่สนามหญ้า  เป็นงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำโดยเฉพาะในบางฤดูกาลที่ใบไม้ร่วง  ดอก และผลร่วง
  3. การตัดหญ้าและตัดขอบ การตัดหญ้าต้องตัดอย่างสม่ำเสมอโดยต้องคำนึงถึงชนิดของหญ้าและฤดูกาลในสนามหญ้าลักษณะพิเศษ เช่น กรีนพัต (Putting-green) ต้อง  ตัดหญ้า ทุกวันและตัดตอนเช้ามือก่อนการใช้สนาม ส่วนสนามหญ้าปกติความถี่ห่างของการตัดขึ้นอยู่กับฤดูกาล เช่น ฤดูฝนอาจตัดทุก ๆ วัน ฤดูหนาวอาจตัดทุก 10 วัน ฤดูร้อนอาจตัดทุก 15 วัน แต่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ จึงจะทำให้สนามหญ้าสวยงามเขียวสม่ำเสมอ และแน่นตัว หลังตัด   สนามหญ้าเสร็จแล้วส่วนมากจะต้องมีการตัดขอบสนาม เพื่อให้ขอบสนามคมชัด และป้องกันหญ้าไม่ให้ลุกล้ำเข้าไปสู่งานอื่น ๆ การตัดขอบเป็นกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติหลังการตัดหญ้า
  4. การตัดเล็มหรือตัดขลิบ (trimming) เป็นการตัดกิ่งที่แตกใหม่บนปลายยอดออก เพื่อรักษารูปทรงของต้นไม้ที่ปลูกให้คงรูปเดิมที่กำหนดไว้ การตัดเล็ม ตัดขริบ นิยมตัดกับ   ไม้พุ่ม เช่น รักษาไม้พุ่มกลม เป็นแถบแน่น ความถี่ห่างของการตัดขึ้นอยู่กับชนิดพืช แต่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ พุ่มจึงจะแน่น สวยงามตามที่ต้องการ เพื่อรักษารูปทรงให้คงรูปไว้ เช่น ไม้พุ่มที่ตัดเป็นศิลปะรูปต่าง ๆ (topiary) ไม้ดัดและไม้แคระ

5. การใส่ปุ๋ย ความสม่ำเสมอของการใส่ปุ๋ยเป็นสิ่งที่จำเป็น จะเห็นได้ชัดในการดูแลบำรุงรักษาสนามหญ้า ถ้าเป็นสนามหญ้าตามบ้านพักอาศัย ที่ต้องการความเขียวตลอดเวลา ต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปีละ 4 ครั้ง และหลังใส่ต้องรดน้ำให้ชุ่ม
6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นงานที่ต้องหมั่นตรวจสอบเป็นประจำถ้าพบอาการผิดปกติกับพืชต้องตรวจสอบหาสาเหตุและรีบดำเนินการแก้ไข
7. การตรวจสอบการเก็บรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์หลังเลิกการใช้งานให้อยู่ในสภาพพร้อม สำหรับการใช้งานคราวต่อไป
8. การให้อาหารและน้ำแก่สัตว์เลี้ยง เช่น ปลาสวยงาม นก และสัตว์เลี้ยง   อื่น ๆ ต้องให้เป็นประจำตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
9. การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย สับเปลี่ยนเลี้ยงดูต้นไม้ สำหรับภูมิทัศน์ภายในอาคาร

​งานที่ปฏิบัติเป็นครั้งคราวหรืองานซ่อมบำรุง (supplementary practices)

​เป็นงานกิจกรรมด้านการจัดการดูแลรักษาที่ไม่ได้ปฏิบัติประจำ แต่ต้องปฏิบัติในรอบ 1 ปีไม่มีข้อจำกัด    ด้านระยะเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความเหมาะสม เป็นงานที่ต้องทำเพิ่ม เช่น
  1. งานซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลรักษา เมื่อเกิดมีการชำรุดต้องรีบดำเนินการซ่อมบำรุงเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  2. งานซ่อมบำรุงภูมิทัศน์ดาดแข็ง ที่เกิดชำรุดเสียหาย เช่น ประตูรั้ว ถนน รถยนต์ บาทวิถี ทางเดินภายในสวน บันได ลานพัก ศาลาพัก เฉลียงม้านั่ง เฟอร์นิเจอร์ บ่อน้ำ ลำธาร สระน้ำ ระบบน้ำพุ น้ำตก น้ำพุ บ่อกรองน้ำ เรือนต้นไม้ ขอบแปลงปลูก กำแพง ผนังกั้นดิน เป็นต้น
  3. งานซ่อมบำรุงระบบต่างๆ ตั้งแต่ระบบการให้น้ำ ระบบการระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าในสนาม ระบบความควบคุมการปิดเปิดประตูอัตโนมัติ และระบบเสียง
  4. งานบำรุงรักษาสนามหญ้า เป็นงานแก้ไขปัญหาที่เกิดกับสนามหญ้าเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมและกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การยุบตัวของพื้นสนาม การแก้ไขปัญหาหญ้าอายุมากหรือหญ้าแก่ การแก้ไขปัญหาดินแน่นตัวทำได้โดยการเจาะรูให้อากาศใน  สนามหญ้า การควบคุมการเกิดชั้นเศษหญ้า การแก้ปัญหาเศษหญ้าไม่สลายตัว การแต่งผิวหญ้าสนามหญ้า การแก้ปัญหารากต้นไม้ใหญ่รบกวนสนามหญ้า การแก้ปัญหารากต้นไม้ใหญ่รบกวนสนามหญ้า การแก้ปัญหาร่มเงาไม้ใหญ่บดบังสนาม ทำให้พืชระดับล่างเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ปัญหาหญ้าสนามที่ปลูกในที่ลาดชัน การเกิดหญ้าอื่นแทรก เกิดมอส สาหร่าย เห็ดในสนาม ตลอดจนงานบูรณะสนามหญ้า และอื่น ๆ
5. งานบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่
  • งานตัดแต่งกิ่ง
  • ตัดกิ่งที่มีกาฝากขึ้นอยู่ 
  • งานค้ำยันลำต้นหรือหลักยึด
  • งานตกแต่งศัลยกรรม
  • งานเปลี่ยนรูปทรง
  • การขุดย้ายต้นไม้ตายออก   
  • การปลูกต้นไม้ใหม่
  • การย้ายต้นไม้ปลูกใหม่ลงในที่เหมาะสม 
  • การใช้วัสดุคลุมโคน
  • การตกแต่งโคน
  • การป้องกันโคนต้น
  • การตกแต่งราก
  • การพันลำต้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง
  • การให้ปุ๋ยและน้ำใต้ดินลึก
  • การสร้างร่องรับน้ำ
  • การปลูกพืชคลุมดิน

6.  งานบำรุงรักษาไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้หัวและไม้คลุมดิน ได้แก่ งานตัดแต่งกิ่ง การตัดเล็ม การเปลี่ยนรูปทรง การแต่งพุ่มให้โปร่งบาง การเปลี่ยนไม้ใหม่แทนไม้เก่า การย้ายปลูก การตัดระดับ การสร้างโครงสำหรับไม้เลื้อย การผูกรัด การรัดหรือการบังคับต้นหรือกิ่ง (espaliering) การขุดรื้อไม้หัวและปลูกไม้หัวใหม่
​7. การทาสี ซ่อมสี ซ่อมรอยด่าง ตามรั้วไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ซ่อมวัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นเหล็กที่เกิดสนิมได้ง่าย
8. งานเปลี่ยนวัสดุปลูก กระถางปลูก เช่น การเปลี่ยนกระถางเปลี่ยนดินในกระถาง เปลี่ยนดินแปลงปลูกใหม่ เปลี่ยนดินปลูกโคนต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน และปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนดินปรับปรุงดิน (modification)
9. งานคลุมดินแปลงปลูกโคนต้นไม้ใหญ่ โดยใช้วัสดุคลุมดินชั่วคราวหรือถาวรเพื่อป้องกันโคนต้น ความสวยงาม อุ้มความชื้นและป้องกันวัชพืช
​​​ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อสร้างและภูมิทัศน์ ได้ที่  ไลน์ @th-arbor ​หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
เพิ่มเพื่อน
Comments
Powered by Create your own unique website with customizable templates.