รุกขกรรม
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
หาเครื่องมือ คลิกที่นี่

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับงานตัดไม้ ( Personal Protective Equipment, PPE)

7/2/2022

 
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือเรียกสั้นๆว่า PPE เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง ลดความสูญเสียหรือลดความรุนเเรงจากอุบัติเหตุ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลมีหลายชนิด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของงานและความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน

​ชุดป้องกันและอุปกรณ์ป้องกัน ควรมีสีสันที่สามารถมองเห็นจากระยะไกล ผ่านการทดสอบและได้มาตรฐาน โดยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยม ได้แก่ มาตรฐานยุโรปและมาตรฐานอเมริกา (CE/ISO/UL) อุปกรณ์ป้องกันอาจใช้มาตรฐานที่ต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ 
อ้างอิงจากกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2555 มีรายละเอียด คือ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นำมาใช้อย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังนี้
  • มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO)
  • มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards : EN)
  • มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards : AS/NZS)
  • มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)
  • มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards : JIS)
  • มาตรฐานสถาบัน ความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH)
  • มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA)
  • มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection   Association : NFPA)
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับงานตัดไม้ ( Personal Protective Equipment, PPE)
  • ​อุปกรณ์ครอบหู สำหรับป้องกันหูจากการทำงานในพื้นที่ที่มีเสียงดังมากกว่าปกติ (40 – 120 เดซิเบล) เป็นระยะเวลานาน
  • หมวกนิรภัย ใช้สำหรับป้องกันศีรษะที่อาจเกิดจากการกระเเทกหรือสิ่งของร่วงหล่นใส่ขณะปฏิบัติงาน
  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า เป็นวัสดุโค้งครอบใบหน้า เพื่อป้องกันอันตรายต่อใบหน้าและลำคอจากการกระเด็น กระแทกของวัตถุ
  • แว่นนิรภัย ใช้สำหรับป้องกันดวงตา เศษไม้ กิ่งไม้ ที่อาจโดนดวงตาจากการปฏิบัติงาน
  • กางเกงสำหรับป้องกันการตัดที่เกิดจากเลื่อยยนต์และตัดไม้  มีเนื้อผ้าหลายชั้น เมื่อเลื่อยพลาดไปโดนเนื้อผ้า เส้นใยในชั้นที่ 2 จะหยุดโซ่ของเลื่อยยนต์ในทันที  ดังนั้นเส้นใยและวัสดุต้องมีมาตรฐานรองรับและเชื่อถือได้  
  • รองเท้านิรภัย  ป้องกันอันตรายต่อนิ้วเท้าของผู้ปฏิบัติงาน โดยหัวรองเท้าจะมีทั้งแบบโลหะและหัวพลาสติกที่มีความทนทานสูง เพื่อใช้ป้องกันการกระแทก หรือป้องกันสิ่งของที่มีน้ำหนักมากตกใส่เท้า พื้นรองเท้าบางรุ่นมีแผ่นเหล็กเพื่อป้องกันของมีคมที่อาจแทงทะลุผ่านพื้นรองเท้าและพื้นรองเท้าออกแบบให้กันลื่นอีกด้วย
  • ถุงมือนิรภัย  อุปกรณ์ป้องกันนิ้วและมือจากการตัดของเลื่อยยนต์ หรือป้องกันการขีดข่วนจากกิ่งไม้ เปลือกไม้
รายการอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ​
ควรมีอุปกรณ์ประฐมพยาบาลอย่างน้อย 1 ชุด สำหรับการตัดต้นไม้ เมื่อได้รับบาดเจ็บจะได้ทำการรักษาทันที ลดการติดเชื้อ หรืออาการแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บ อ้างอิงจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติแล้ว สิ่งที่บรรจุอยู่ในชุดปฐมพยาบาล ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ทำแผล และยารักษาโรคเบื้องต้น อาทิ
  • ถุงมือ  สำหรับผู้ช่วยเหลือ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ช่วยเหลือสัมผัสถูกเลือด อาเจียน สารคัดหลั่งต่างๆ
  • ยาล้างแผล เช่น แอลกอฮอล์ ยาฆ่าเชื้อ
  • ผ้าทำแผล (ผ้าก๊อซ) ขนาดต่างๆ  โดยหากแผลมีเลือดออกมากให้ปิดทับหลายๆแผ่นเพื่อห้ามลือด
  • พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่างๆ  ใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว
  • กรรไกร ใช้ตัดผ้าก็อซหรือตัดผ้าหรือขากางเกงเช่น เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • เทปติดแผล
  • ผ้าปิดตา  ใช้สำหรับการบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น กระจกตาถูกบาด ฝุ่นละอองเข้าตา เป็นต้น
  • เข็มกลัด ใช้ติดผ้าสามเหลี่ยม ผ้าคล้องคอ ผ้ายืด
  • สำลี ไม้พันสำลี ใช้สำหรับทายาล้างแผลรอบๆ แผล
  • ผ้ายืด(อีลาสติกแบนเอด)  ใช้สำหรับพันเมื่อเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อ เพื่อลดการบวม ลดการเคลื่อนไหว หรือใช้พันยึดกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดามกระดูก ผ้ายืดยังสามารถนำมาพันทับผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ติดแผลเพื่อห้ามเลือด แต่ห้ามพันแน่นจนเกินไปเพราะทำให้อวัยวะส่วนปลายเกิดการบวมและขาดเลือดมาเลี้ยงได้
  • ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน  ปัจจุบันใช้ผ้าคล้องแขนแทนเพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
  • ถุงพลาสติก  สำหรับใส่เศษขยะ เช่น ผ้าเปื้อนเลือด เป็นต้น
อุปกรณ์สื่อสาร
ได้แก่ วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์ และ อุปกรณ์ให้สัญญานอื่นๆเช่น นกหวีด สามารถช่วยได้หากเกิดอุบัติเหตุเพื่อให้สัญญานเสียง ขอความช่วยเหลือ
Powered by Create your own unique website with customizable templates.