รุกขกรรม
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
หาเครื่องมือ คลิกที่นี่

13 วิธีดูแลรักษา งานภูมิทัศน์ ให้ง่ายและประหยัด

12/4/2017

Comments

 
Picture
Image Source : mp.weixin.qq
การดูแลรักษางานภูมิทัศน์ เป็นการจัดการที่ต้องลงทุนในระยะเวลายาว ด้วยการใช้ทรัพยากร คน อุปกรณ์และงบประมาณ  สิ่งสำคัญ คือ การวางแนวคิดของงานภูมิทัศน์เพื่อดูแลบำรุงรักษาอย่างง่ายและต่ำ

คัดลอกจาก เอกสารประกอบการอบรม การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์โรงแรม จ.ภูเก็ต วันที่ 15-16 ธันวาคม 2560 โดย อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย ​คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้   คลิกดูหัวข้ออื่นๆได้ที่นี่

13 วิธีดูแลรักษา งานภูมิทัศน์ ให้ง่ายและประหยัด

  1. รูปแบบสวนที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย  สวนแบบสมัยนิยมจะเป็นสวนที่ดูแลและจัดการด้านต่าง ๆ ง่ายกว่าในสวนในรูปแบบธรรมชาติที่เป็นโขดหินที่มีพืชพรรณหลากหลาย
  2. สนามหญ้าที่ออกแบบให้เรียบ  เปิดโล่ง  มีขอบเขตแน่นอน  จะดูง่ายกว่าสนามหญ้าที่จัดเป็นเนินเตี้ย ๆ และชิ้นหลาย ๆ ชั้น ถ้ามีเนินควรมีพื้นที่ลาดเอียงที่พอเหมาะกับการใช้รถตัดหญ้า การปลูกต้นไม้หลาย ๆ กลุ่มในสนามทำให้เกิดซอกเล็กซอกน้อย ตัดหญ้าลำบาก การดูแลด้านอื่น ๆ ก็ยากขึ้น
  3. การเตรียมดินที่ดีและถูกต้องในขั้นตอนแรก ทำให้หญ้าและต้นไม้เจริญเติบโตตามปกติ แข็งแรง ทนทานต่อโรคแมลง การเตรียมดินที่ดีจะทำให้การจัดการเรื่องวัชพืช การให้น้ำ การให้ปุ๋ยน้อยลง
  4. จัดระบบระบายน้ำออกจากสวนให้ดี ด้วยการวางท่อถาวร  ถ้าสวนไม่มีน้ำขังจะมีผลต่อการจัดการด้านอื่น ๆ น้อยลง
  5. พันธุ์ไม้ในแบบสวน  ควรกำหนดไม้ที่มีอายุยืนยาว โตช้า เป็นไม้ในท้องถิ่นหรือเจริญเติบโตได้ดีในท้องถิ่นนั้น ๆ แม้จะเป็นพันธุ์ไม้ที่มีราคาแพงไปบ้าง หากคิดในระยะยาวแล้วยังคุ้มค่ากว่าไม้โตเร็วที่ต้องตัดแต่งบ่อย ๆ และไม้โตเร็วก็มักจะเป็นไม้อายุสั้น ต้องรื้อ ต้องเปลี่ยนบ่อย
  6. ออกแบบสวนโดยกำหนดให้มีพื้นที่ดาดแข็งให้มากขึ้น โดยหลีกเหลี่ยงการปลูกหญ้า  เช่น  กำหนดเป็นพื้นที่หินกาบ  พื้นศิลาแลง  พื้นซีเมนต์สำเร็จรูป    เพราะพื้นที่เหล่านี้ทนทาน  ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ไม่ต้องรดน้ำให้ปุ๋ย ตัดแต่งเหมือนกับสนามหญ้า แต่ต้องออกแบบให้สวยงาม  เกิดความกลมกลืนกับสวนและสิ่งก่อสร้าง ในสวนอีกทั้งรูปแบบและลวดลายของพื้นที่สวนก็ต้องสวยงามในตัวเอง
  7. เลือกใช้วัสดุประกอบสวนที่แข็งแรงทนทาน  ไม่ว่าจะเป็นรั้วสวน  สิ่งก่อสร้างแผ่นทางเดินโคมไฟ ฯลฯ
  8. กำหนดพันธุ์ไม้ - หญ้าสนามให้เหมาะกับความต้องการสภาพแวดล้อม เช่น  สนามหญ้าควรอยู่ในที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ หญ้าจึงจะสวยงาม บริเวณที่ร่มมาก ๆ ปลูกหญ้าไม่ได้ก็ใช้กรวดคลุมดินแทน  หรืออาจใช้ไม้คลุมดินที่ทนร่มปลูกแทน  เช่น เฟิร์น ก้ามปูหลุด  กาบหอยแครง ผักเป็ดเขียว เป็นต้น  พันธุ์ไม้ที่ใช้ก็ต้องทราบว่าเป็นไม้ในร่มชอบน้ำหรือไม่ชอบน้ำ
  9. ทางเดินสวนควรเป็นทางเดินแบบต่อเนื่อง ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรออกแบบให้เป็นทางเดินแบบแยกหรือวางแผนทางเท้า  สลับเยื้องไปมาแล้วมีหญ้าแซมระหว่างแผ่นทางเดิน ทำให้ตัดหญ้าลำบาก  ควรเป็นทางเดินแบบต่อเนื่องใช้วัสดุที่ทนทานต่อแสงแดด ฝน ความชื้น  และการเหยียบย่ำ
  10. เทคอนกรีตบนพื้นที่ที่ต้องการโรยหิน หรือกรวดกลมเพื่อตกแต่งลักษณะพื้นที่ผิวสวน และใช้แผ่นบาง ๆ กันขอบระหว่างพื้นหญ้าและพื้นกรวด
  11. การจัดกลุ่มพันธุ์ไม้เป็นกลุ่มต่อเนื่องกัน และไม่ควรมากกลุ่มอย่างไรก็ตามควรต้องกำหนดช่องทางที่จะเบียดเข้าไปดูแลรักษา  ตัดแต่งฉีดยา ใส่ปุ๋ยได้
  12. กำหนดจุดให้น้ำ  จุดจ่ายไฟ  ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการดูแลรักษา และการทำกิจกรรมอื่น ๆ ภายในสวน  และจุดเหล่านี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความแข็งแรงทนทานด้วย
  13. ไม่ควรปลูกหญ้าหรือต้นไม้พื้นที่บริเวณที่รับน้ำจากชายคา เพราะแรงของน้ำจะทำให้ใบขาด กิ่งหัก  และดินแน่น ควรใช้กรวดหินโรยซับน้ำและจัดตกแต่งให้สวยงาม
​​​ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อสร้างและภูมิทัศน์ ได้ที่  ไลน์ @th-arbor ​หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
เพิ่มเพื่อน
Comments
Powered by Create your own unique website with customizable templates.