รุกขกรรม
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • หมอต้นไม้
    • ผู้ให้บริการงานดูแลต้นไม้ใหญ่
    • Tree Care Service Provider
  • หาอุปกรณ์
  • บทความ
    • การบำรุงรักษาต้นไม้
    • เทคนิคการทำงานรุกขกร
  • ซอฟแวร์
หาเครื่องมือ คลิกที่นี่

ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย

12/11/2018

Comments

 
Picture
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ใบกว้าง การจำแนกประเภทป่าไม้จึงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน  ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝน ทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน  สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 
 ก.  ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ  (Evergreen) 
 ข.  ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous) 

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)

ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี  เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้  ได้แก่

1. ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปี มีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่ มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล อยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และมากที่สุดแถบชายฝั่งภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และที่ภาคใต้  พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นวงศ์ยาง เช่น ยางนา  ยางเสียน เป็นต้น พันธุ์ไม้อื่น ช่น ไม้ตะเคียน กะบาก อบเชย จำปาป่า ส่วนไม้ชั้นรอง คือ  พวกไม้กอ  เช่น  กอน้ำ  กอเดือย และไม้ชั้นล่างจะเป็นพวกปาล์ม ไผ่ ระกำ หวาย บุกขอน เฟิร์น มอส กล้วยไม้ป่าและ เถาวัลย์ชนิดต่างๆ

2. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบหรือตามหุบเขา มีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 ม.ม.  ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา ยางแดง พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ ส่วนพื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียน 

3. ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูงๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 - 2,000 ม. ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ และบางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมูน้อย อบเชย พวกไม้ขุนและสนสามพันปี ส่วนไม้ชั้นรอง  ได้แก่  เป้ง  สะเดาช้าง และขมิ้นต้น และไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์น กล้วยไม้ดิน มอสต่างๆ
 
4. ป่าสนเขา (Pine Forest) ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ซึ่งพบมากในภาคเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร  จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ

5. ป่าชายเลน (Mangrove Forest) บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ  ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ๆ  ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ  อำเภอลุง  จังหวัดจันทบุรี พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน  ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่  ประสัก  ถั่วขาว  ถั่วขำ  โปรง  ตะบูน  แสมทะเล โพทะเล ลำพูนและลำแพน  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก  ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ  ปอทะเล และเป้ง  เป็นต้น 

6. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest) ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมากๆ  ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง  มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่างๆ  เช่น  ครอเทียน  สนุ่น  จิก  โมกบ้าน  หวายน้ำ  หวายโปร่ง  ระกำ  อ้อ และแขม  ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท  ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน  เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่างๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด"  อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่างๆ  มากชนิดขึ้นปะปนกันชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ  ได้แก่  อินทนิล  น้ำหว้า  จิก  โสกน้ำ  กระทุ่มน้ำภันเกรา  โงงงันกะทั่งหัน  ไม้พื้นล่างประกอบด้วย  หวาย  ตะค้าทอง  หมากแดง และหมากชนิดอื่นๆ 

 7.  ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล  น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล  ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล  ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ  ใบหนาแข็ง  ได้แก่  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  กระทิง  ตีนเป็ดทะเล  หยีน้ำ  มักมีต้นเตยและหญ้าต่างๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้  กระบองเพชร  เสมา และไม้หนาม เช่น ซิงซี่  หนามหัน  กำจาย  มะดันขอ  เป็นต้น

ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)

ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้  ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็กๆ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้  ได้แก่ 

1.  ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest) ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย  ป่าเบญจพรรณ  ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี  ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย  พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่  สัก  ประดู่แดง  มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พี้จั่น ตะแบก  เสลา  อ้อยช้าง  ส้าน  ยม  หอม  ยมหิน  มะเกลือ  สมพง  เก็ดดำ  เก็ดแดง นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ  เช่น  ไผ่ป่า  ไผ่บง  ไผ่ซาง  ไผ่รวก  ไผ่ไร

 


           2.  ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest) หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง  ป่าแพะ  ป่าโคก  ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  ตามพื้นป่ามักจะมีโจด  ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก  พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด  ลูกรัง  พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา  ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญ  ได้แก่  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  กราด  พะยอม  ติ้ว  แต้ว  มะค่าแต  ประดู่  แดง มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน  สมอไทย  ตะแบก  เลือดแสลงใจ  รกฟ้า  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างเป็นหญ้า หญ้าเพ็ก ปรง กระเจียวเปราะ มะพร้าวเต่า  ปุ่มแป้ง  โจด และหญ้าชนิดอื่นๆ

 

         3.  ป่าหญ้า (Savannas Forest) ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง  หญ้าชนิดต่าง ๆ  จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย  พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี  พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ  หญ้าคา  หญ้าขน แฝก อ้อ แขม ตาช้าง  หญ้าโขมง  หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง  บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่  เช่น  ตับเต่า  รกฟ้าตานเหลือ  ติ้วและแต้ว
Comments
Powered by Create your own unique website with customizable templates.