ใช่แล้ว! ทุกครั้งที่เราตัดกิ่งไม้ ต้นไม้จะเกิดแผล แล้วต้นไม้แผลหายเองได้หรือเปล่า? จะตัดอย่างไรแผลถึงหายเร็ว? และถ้าแผลไม่หายต้นไม้จะเป็นอะไรไหม?
คน-สัตว์-ต้นไม้ รักษาแผลตัวเองอย่างไร
เมื่อคนและสัตว์เกิดบาดแผล เนื้อเยื่อส่วนนั้นหายไป ร่างกายจะสร้างเซลล์ชนิดเดิม บนที่เดิมจนแผลหายสนิท แต่ถ้าเป็นต้นไม้ล่ะก็ มันจะสร้างเซลล์บนที่เดิมไม่ได้ หรือจะเรียกว่า "โบ๋แล้วโบ๋เลย" และสร้างเซลล์ใหม่เรียกว่า "ผนังปิดล้อม" ปิดส่วนที่กลวงโบ๋นั้นแทน (Compartmentalization) ดังนั้น ต้นไม้แผลหายสนิทก็หมายถึง ต้นไม้สร้างเนื้อเยื่อมาหุ้มแผลได้ทั้งหมด
ในรูปด้านบน เราจะเห็นการพัฒนาของ ผนังปิดล้อม ของต้นมะม่วงแผลกว้าง 18 เซนติเมตร การตัดที่ถูกต้องถูกจุดนี้ ทำให้ต้นมะม่วงใช้เวลาทั้งหมด 4ปี 4เดือน หุ้มแผลได้มิด ซึ่งต้นไม้แต่ละต้นใช้เวลาหุ้มแผลไม่เท่ากัน
อัพเดทข้อมูลการดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ทาง LINE Add friend ที่ ID : @th-arbor (มี@ด้านหน้า) หรือคลิกปุ่ม Add Friend ด้านล่าง
ตัดตรงไหน? ต้นไม้ถึงรักษาแผลตัวเองได้
ยิ่งเนื้อเยื่อหุ้มปิดได้เร็วแผลยิ่งหายเร็ว ดังนั้นต้อง ตัดชิดคอกิ่ง
ต้นไม้เก็บพลังงานไว้มากมายที่คอกิ่ง (Branch Collar) เมื่อเราตัดใกล้ๆจุดนี้ ต้นไม้จะส่งพลังงานมาสร้างเนื้อเยื่อหุ้มแผลได้เร็ว น้ำและออกซิเจนเข้าแผลไม่ได้ คอกิ่งหน้าตาเป็นอย่างไร?คลิกดูที่นี่ นอกจากนั้น ที่คอกิ่งยังมี "โซนปกป้อง" ซึ่งส่งสารฟินอลมาปิดท่อส่งน้ำไม่ให้เชื้อราเติบโต คล้ายกับว่าเป็นที่สร้างกำแพงต้านเชื้อผุจากภายนอก ถ้าแผลไม่ปิดจะเกิดอะไรขึ้น?
ผุ ลุกลามเข้าไปถึงลำต้น จากภาพ เมื่อต้นไม้ปิดแผลไม่ได้หรือปิดช้า เชื้อผุจะลุกลามเรื่อยไปในลำต้นเรื่อยๆจนถึงลำต้น ถึงราก ทำให้ลำต้นกลวง มีโครงสร้างอ่อนแอ และล้มในที่สุด
เราจะเห็นว่าแค่ต้นไม้หุ้มแผลไม่ได้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสริมให้ต้นไม้ผุจนล้ม นอกจากเราจะสูญเสียต้นไม้ใหญ่จากการตัดแต่งผิดแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินใกล้เคียงด้วย ดังนั้นการตัดแต่งให้แผลสวยเพื่อต้นไม้รักษาแผลตัวเองง่าย โดยยึดหลัก "ตัดชิดคอกิ่ง" ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆที่จะป้องกันปัญหานี้
เรียบเรียงข้อมูลและรูปภาพจากสื่อการสอนของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ
รับสมัครแล้ว WORKSHOP การศัลยกรรมตัดแต่งบูรณะโพรง #อบรมรุกขกร
กำหนดการ
ติดตามข่าว หลักสูตรการอบรมด้านงานรุกขกรรม ได้ที่ ไลน์ @th-arbor หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
|