รุกขกรรม
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • พนักงานตามสัญญาจ้าง
    • Arboristica
    • หมอต้นไม้
  • หาอุปกรณ์
    • เลื่อยยนต์
    • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับงานตัดไ
  • ซอฟแวร์
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • อบรม
    • การจัดอบรมภายในองค์กร
    • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • หารุกขกร
    • พนักงานตามสัญญาจ้าง
    • Arboristica
    • หมอต้นไม้
  • หาอุปกรณ์
    • เลื่อยยนต์
    • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับงานตัดไ
  • ซอฟแวร์
  • เข้าสู่ระบบ
หาเครื่องมือ คลิกที่นี่

สรุป 6 อุปกรณ์ปีนต้นไม้ ป้องกันตกต้นไม้ ที่จำเป็น - Tree Climbing

11/3/2018

Comments

 
Picture
​หากคุณจำเป็นต้องปีนต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นการปีนไปทำกิจกรรม ตัดแต่งกิ่งไม้ เก็บผลไม้ ทำโพรงนกเงือก หรือแม้กระทั่งงานสำรวจ แต่ยังไม่มี อุปกรณ์กันตกต้นไม้ หรือ อุปกรณ์ปีนต้นไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และให้ทำงานได้เหนื่อยน้อยลง แถมไม่รู้จะเริ่มตรงไหน??? มาดู 6 อย่างหลักๆที่จำเป็นต้องมีครับ (ปีนแบบไม่ใช้เชือก ใช้เพียงอุปกรณ์กันตกต้นไม้ 3 อย่างแรก)

คุณอาจสนใจ ตัวอย่าง ชุดอุปกรณ์ปีนต้นไม้ทั้งชุด คลิกที่นี่

[1] เข็มขัดรัดสะโพกกันตก

 เข็มขัดนิรภัย หรือที่เรียกในภาษาสากลว่า ฮาร์เนส [Harness] มีหลายประเภท หลายรุ่น หลายยี่ห้อ ซึ่งออกแบบมาสำหรับลักษณะกิจกรรมที่ต่างกันออกไป ทั้งแบบครึ่งตัว เต็มตัว เช่น ปีนหน้าผา กู้ภัย งานอุตสาหกรรม งานปีนต้นไม้ งาน Rope Access

เลือกใช้ฮาร์เนสแบบไหนปีนต้นไม้ กันตกต้นไม้? 
  1. ​ฮาร์เนสสำหรับงานปีนต้นไม้โดยเฉพาะ จะมีสายคล้องด้านหน้า (บริดจ์) เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวบนต้นไม้ที่คล่องแคล่วขึ้น และ มีห่วงรับน้ำหนัก (ดีริง) ด้านข้างเพื่อใช้เกี่ยวกับสายนิรภัยส่วนบุคคล (Landyard) โดยส่วนใหญ่แล้ว เข็มขัดรัดสะโพกกันตกสำหรับต้นไม้จะมีราคาสูง ดังนั้น หลายๆคนจึงเลือกที่จะใช้ ​เข็มขัดรัดสะโพกกันตกครึ่งตัว แบบที่มี 3 จุดยึด คือ ที่ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง ส่วนคนที่เลือก สายรัดตัวแบบโรยตัวจากหน้าผา ที่มีจุดรับน้ำหนักเพียงจุดเดียวทางด้านหน้า จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญพอสมควร
  2. มาตรฐาน : มาตรฐานจะระบุไว้ที่อุปกรณ์นั้นๆ โดยทั่วไปเป็นมาตรฐาน CE EN 358, CE EN 813 เข็มขัดนิรภัยมีตั้งแต่หลักพันถึงหมื่น ควรระมัดระวังฮาร์เนสที่ไม่ได้ผ่านการทดสอบเรื่องการรับน้ำหนัก ชำรุดได้ง่ายที่รอบเย็บ และที่สำคัญ สำรวจงานผลิตตรงจุดเชื่อมต่อว่ามีความแข็งแรงทนทาน ฮาร์เนสที่ราคาสูงควรมีรับประกันการชำรุดจากการผลิตอย่างน้อย 3 ปี
รายการ-ราคา อุปกรณ์ปีนต้นไม้-เข็มขัดนิรภัย จาก เพจช่างตัด (สิงหาคม 2562)
Picture

[2] เชือกเซฟตี้ล็อคตำแหน่ง ปรับระยะได้

เชือกเซฟตี้ล็อคตำแหน่งปรับระยะได้ ที่เรียกในภาษาสากลว่า แลนยาร์ด [Lanyard] ใช้คล้องกับห่วงรับน้ำหนักทั้งสองข้างของฮาร์เนส โดยหลักๆใช้ในการปรับย้ายตำแหน่งตัวเองเข้าหากิ่งไม้หรือลำต้น หรือแม้แต่เคลื่อนที่ไปปลายกิ่ง เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย ก่อนที่จะปล่อยมือจากเชือก ปล่อยให้มือว่างใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่น 

หากขึ้นต้นไม้โดยการไต่เชือก แลนยาร์ดนี้จะเป็นจุดยึดตัวเองจุดที่สอง โดยมีจุดแรกเป็นเชือกปีน แต่หาก ปีนต้นไม้โดยไม่ใช้เชือก ควรพิจารณาใช้แลนยาร์ดสองเส้น เพื่อให้มีจุดยึดตัวเองสองจุด เพิ่มความปลอดภัยมั่นคงเวลายืนบนต้นไม้ 

เลือกใช้เชือกเซฟตี้ปรับระยะแบบไหนปีนต้นไม้ กันตกต้นไม้? 
  1. สำเร็จรูป - ทำเอง: เชือกนิรภัยล็อคตำแหน่งที่มีในตลาดที่มีจำหน่ายทั่วไปเป็นแบบสำเร็จรูป ประกอบด้วย เชือกความยาวตั้งแต่ 3-5 เมตร และตัวปรับระยะ มีห่วงที่ปลายไว้คล้องตะขอเกี่ยว 2 ข้าง แต่หากต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย อาจเลือกใช้แบบทำเองโดยอาศัยความรู้ในเรื่องการมัดเงื่อนเข้ามา ซึ่งจำเป็นต้องใช้เชือกที่รับน้ำหนักได้ด้วย
  2. วัสดุ: ไม่ว่าจะเป็นสายเซฟแบบไหน ควรเป็นเชือกที่มีมาตรฐานระบุไว้ สายเซฟที่ใช้กับรองเท้าปีนต้นไม้ มักใช้เป็น เชือกเซฟตี้ไส้เหล็ก

[3] ตะขอเกี่ยว ตัวล็อค คาราบิเนอร์ 

Picture
คาราไบเนอร์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ สำหรับต่ออุปกรณ์หลายชิ้นให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เชื่อมแลนยาร์ด เข้ากับ ฮาร์เนส หรือ เชื่อมฮาร์เนส เข้ากับ อุปกรณ์ปีนไต่เชือก โดยห่วงคาราบิเนอร์นี้ จะเปิดปิดได้ ส่วนที่เปิดปิดเรียกว่าประตู [Gate] ทำจากเหล็กหรืออลูมิเนียม ซึ่ง คาราไบเนอร์มีหลายชนิดหลายประเภทเช่นกัน 

เลือกใช้ คาราบิเนอร์ แบบไหนปีนต้นไม้ กันตกต้นไม้? 
คาราไบเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาเลือกจาก 
  1. มาตรฐาน : คาราบิเนอร์ที่อยู่ในจุดสำคัญ เช่น จุดรับน้ำหนักตัวเรา ควรเลือกใช้แบบมีใบเซอร์ ผ่านการทดสอบที่เชื่อถือได้ เพราะอย่าลืมว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้รับน้ำหนักตัวเราอยู่ เช่น มาตรฐาน CE EN 362 หรือ CE EN 12275 
  2. ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ : เช่น เข้ากันกับชุดอุปกรณ์ไต่ขึ้นโรยตัวที่เลือกใช้ 
  3. วัสดุ : หลักๆแล้ว คาราบิเนอร์ทำจากเหล็ก หรือ อลูมิเนียม โดยหากนำคาราบิเนอร์เหล็กไปต่อกับอุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุอ่อนกว่า จะทำให้อุปกรณ์สึกหรอได้เร็ว แต่คาราบิเนอร์อลูมิเนียมมักจะมีราคาที่สูงกว่า
  4. ระบบล็อค : หากเป็นไปได้ ตัวล็อคสำหรับการปีนต้นไม้ กันตกต้นไม้ ควรเลือกที่เป็นระบบออโต้ล็อค 3 จังหวะ (Triact-Lock) ที่มีความปลอดภัยสูง ประตูเปิดเองได้ยากกว่าแบบเกลียวหมุนหรือควิกดรอว์
Picture
รายการ-ราคา ตัวล็อค ตะขอเกี่ยว คาราบิเนอร์ จาก เพจช่างตัด ​(สิงหาคม 2562)

[4] เชือกปีนต้นไม้ และ เชือกส่งกิ่งไม้ลง

Picture
เชือก เข้ามาช่วยยึดตัวเราไว้กับเชือก แทนที่เราจะปีนต้นไม้ด้วยตัวเปล่าๆ ในสากลเรียกวิธีการเข้าถึงพื้นที่ด้วยเชือกว่า ROPE ACCESS ใช้ในงานหลายงาน ตั้งแต่ ปีนหน้าผา น้ำตก งานในอาคาร กู้ภัย งานอุตสาหกรรม ซิปไลน์ ซึ่งเชือกที่ใช้กับแต่ละกิจกรรมก็ต่างกัน ส่วนเชือกที่ใช้ในงานต้นไม้ ยังแบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆด้วยกัน คือ เชือกปีน (Climbing Rope) และเชือกส่งวัตถุหนัก (Rigging Rope) 

เลือกใช้ เชือก แบบไหนปีนต้นไม้ กันตกต้นไม้? 
ในท้องตลาดมี เชือกที่ผลิตมาสำหรับการใช้งานบนต้นไม้โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาสูงว่า เชือกโรยตัว ทั่วไป มักทำจากโพลีเอสเตอร์ โพลีอามายด์ ไนลอน ผสมกัน โดยถักเป็นสองชั้น เพื่อการกระจายน้ำหนักและเพิ่มความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม สามารถนำเชือกทำงานที่สูงที่ผ่านการทดสอบการรับน้ำหนักมาใช้เช่นกัน เพียงแต่อายุการใช้งานอาจจะสั้นกว่า 
  1. มาตรฐาน : ควรคำนึงเสมอว่า ชีวิตของผู้ทำงานจะแขวนอยู่กับเชือก (Life Line) ควรเลือกใช้เชือกที่ มีใบเซอร์ ผ่านการทดสอบที่เชื่อถือได้ โดยทั่วไป เชือกที่ใช้ปีนต้นไม้จะผ่านมาตรฐาน CE EN 1981 A
  2. ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ : เช่น ขนาดเข้ากันกับชุดอุปกรณ์ไต่ขึ้นโรยตัวที่เลือกใช้ 
  3. การเย็บห่วงสำเร็จรูปที่ปลายเชือก : เชือกบางชนิดผลิตให้มีห่วงที่ปลาย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน และอาจจะเข้ากับอุปกรณ์บางชนิดมากกว่า แต่จะมีราคาสูงกว่าเชือกที่ไม่มีห่วงที่ปลาย อย่างไรเสีย ผู้ใช้สามารถมัดเงื่อนที่ปลายเชือกเพื่อคล้องกับอุปกรณ์อื่นได้เสอ
  4. ความยาวของเชือก : ความยาวของเชือกที่เหมาะสมคิดจากความสูงของต้นไม้เฉลี่ยและเทคนิคที่ใช้ในการปีน

[5] อุปกรณ์จับเชือก สำหรับไต่เชือกขึ้น โรยตัว

Picture
การจับเชือกไต่ขึ้นโรยตัวลงนั้น แต่เดิมใช้เชือกเส้นเล็กมัดเงื่อนพรูสิกช่วยจับเชือกเพื่อปีนขึ้นโรยตัวลง ปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายแบบที่พัฒนาและผลิตออกมาเพื่อให้การทำงานง่าย ปลอดภัย ทนทาน และคุ้มค่ามากขึ้น ให้เลือกใช้ตามความถนัดและความชอบ ซึ่งโดยทั่วไป มีอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ 4 แบบ
  1. พรูสิก : เป็นเทคนิคดั้งเดิม ใช้เชือกเส้นเล็กจับเชือกหลัก 
  2. เงื่อนวีที VT Hitch : ใช้การผูกเงื่อนแบบวีที และอุปกรณ์เชื่อมต่อ ดูคลิปตัวอย่าง คลิก
  3. RADs : ใช้ระบบทดแรง 3 ต่อหนึ่ง เพื่อให้ใช้แรงไต่เชือกน้อยลง ดูคลิปตัวอย่าง คลิก
  4. Mechanical Prusik : อุปกรณ์ที่ออกแบบมาใช้ทดแทนพรูสิกแบบเชือก เช่น ซิกแซก Petzl ZIGZAG ดูคลิปตัวอย่าง คลิก

เลือกใช้ อุปกรณ์จับเชือก แบบไหนปีนเชือกขึ้นต้นไม้ โรยตัวลง? 
  1. มาตรฐาน : ควรคำนึงเสมอว่า ชีวิตของผู้ทำงานจะแขวนอยู่กับเชือก (Life Line) ควรเลือกอุปรกรณ์จับเชือก มีใบเซอร์ ผ่านการทดสอบที่เชื่อถือได้ โดยทั่วไป มาตรฐานจะบอกไว้ที่อุปกรณ์ 
  2. เทคนิคที่ใช้ : การปีนเชือกขึ้นต้นไม้ ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ควรสอบถามผู้ใช้งานว่าต้องการใช้เทคนิคอะไร แล้วเลือกอุปกรณ์ตามเทคนิคที่ผู้ใช้ถนัด
  3. งบประมาณระยะสั้น-ยาว : อุปกรณ์จับเชือกที่เป็นเชือกพรูสิก มีอายุการใช้งานจำกัดจากการเสียดสีและความร้อน จำเป็นต้องเปลี่ยนเชือกเมื่อสภาพไม่เหมาะสม หากการของบประมาณจัดซื้อเป็นไปได้ยาก ควรพิจารณาใช้พรูสิกให้น้อย
Picture
รายการ-ราคา อุปกรณ์ปีนต้นไม้ จาก เพจช่างตัด ​(สิงหาคม 2562)
สอบถามการเลือกอุปกรณ์จับเชือกปีนต้นไม้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ คลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่าง
เพิ่มเพื่อน

​[6] อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

Picture
อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ มักเป็นส่วนที่ถูกละเลยเป็นประจำ เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ร้อนของบ้านเรา แต่หากประสบอุบัติเหตุกับตัวเองแล้ว หลังนั้นจะหยิบมาใส่กันโดยไม่ต้องมีใครเตือน โดยอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่
  • หมวก ป้องกันกิ่งไม้ตกกระแทก หรือปีนขึ้นไปกระแทกกิ่งไม้เอง
  • แว่นกันสะเก็ด ป้องกันอันตรายจากการตัด เศษกิ่งไม้ ขี้เลื่อย กระเด็นเข้าตา
  • ถุงมือจับเชือก
​​​ติดตามบทความ / การอบรม เกี่ยวกับ การดูแลสวนและต้นไม้ใหญ่ ได้ที่  ไลน์ @th-arbor ​หรือคลิกปุ่ม Add Friends ด้านล่าง
เพิ่มเพื่อน

คอร์สปีนต้นไม้อย่างปลอดภัยโดยใช้เซฟตี้ เทคนิคการขึ้นต้นไม้

Picture
หลักสูตรระยะสั้น 2 วัน อ้างอิงหลักการเข้าถึงพื้นที่ด้วยเชือก (Rope Access) โดยผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ทำงาน เจ้าหน้าที่รุกขกร ตัดแต่งกิ่งไม้สูง หรือการทำงานที่สูงในลักษณะอื่นๆ เช่น งานซ่อมบำรุง ทำความสะอาด รวมถึงกิจกรรมแอดเวนเจอร์ หรือดูแลฐานกิจกรรมที่สูงในสถานที่ท่องเที่ยว 
ดูรายละเอียดการอบรม
Comments
    Picture
    Picture
    Picture

TH-ARBOR.COM

หน้าแรก
บทความ
มหาวิทยาลัยสีเขียว
หลักสูตรงานรุกขกรรม
อบรม
​หารุกขกร

หาอุปกรณ์
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเราที่
​Line: @th-arbor หรือ โทร 096- 124- 4985 
เพิ่มเพื่อน
© 2016-2020 @th-arbor.  All Right Reserved.​